วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน

โรคเอดส์ หรือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง(Acquired Immune Deficiency Syndome ; AIDS) 
    เป็นโรคที่เกิดจากการมีเชื้อไวรัส HIV เข้าสู่ร่างกาย แล้วไปขยายจำนวนอยู่ภายในเซลล์ที จนเซลล์ทีตายไปเป็นจำนวนมาก จากการที่ไวรัส HIV โจมตีระบบภูมิคุ้มกันนี้ทำให้คนเป็นโรคเอดส์ตายลงไปเป็นจำนวนมากเพราะร่างกายสูญเสียความสามารถในการต่อสู้โรค เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนเคย ร่างกายจึงอ่อนแอและเกิดโรคแทรกต่างๆ เช่น โรคปวดบวม(นิวมอเนีย) วัณโรค เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคเริม โรคท้องเสียเรื้อรัง โรคเชื้อราตามผิวหนังและช่องปาก เป็นต้น
โรคภูมิแพ้(allergy)
    เป็นโรคไม่ติดต่อเพราะไม่ได้เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์หรือไวรัส ไม่สามารถแพร่กระจายจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้ แต่โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่ตอบสนองอย่างรุนแรงต่อสิ่งแปลกปลอมที่อยู่รอบๆ ตัว เช่น ละอองเกสรดอกไม้ ฝุ่น อาหาร เป็นต้น สิ่งที่เป็นสาเหตุให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อต้านต่อสิ่งแปลกปลอม เราเรียกสิ่งนั้นว่า สารก่อภูมแพ้(allergen) และเมื่อมีสารภูมิแพ้นี้เข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นทางลมหายใจ ทางเดินอาหาร หรือสัมผัสทางผิวหนัง เซลล์ลิมดฟซ์ที่เผชิญหน้ากับสารเหล่านี้ก็จะสร้างแอนติบอดีขึ้นมาแต่แอนติบอดีที่สร้างขึ้นมานี้ไม่เหมือนกับชนิดที่ผลิตขึ้นมาในกระบวนการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันโดยทั่วไป เพราะเป็นแอนติบอดีที่ส่งสัญญาณให้เซลล์ในร่างกาย หลั่งสารเคมีที่เรียกว่า ฮิสตามิน(histamine) ออกมาทำให้เกิดอาการ ไอ จาม คันตา คันจมูก หรือน้ำตาไหล เป็นต้น ซึ่งเป็นลักษณะอาการแพ้ที่ร่างกายแสดงออกมาตามปกตอทั่วไป ซึ่งไม่รุนแรงมากนัก คนที่ภูมิแพ้รุนแรงจะเกิดอาการเป็นผื่นหรือบวมทั้งตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ อาการทางเดินหายใจติดขัดจะต้องใช้ยาที่เรียกว่า แอนติฮิสตามิน(anti-histamine) ช่วยขัดขวางหรือลดปฏิกิริยาอาการแพ้เหล่านี้ลงทันที
โรคลูปัส หรือ เอสแอลอี(Systemic Lupus Erythematosus ; SLE)
    เป็นตัวอย่างอีกโรคหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งเป็นโรคในกลุ่ม ภูมิคุ้มกันต้านตนเอง(autoimmune disease) กล่าวคือ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะต่อต้านและทำลายเนื้อเยื่อหรือเซลล์ของตนเองในระบบต่างๆ เช่น ระบบเลือด ระบบประสาท และระบบขับถ่ายเป็นต้น โรคSLE เป็นโรคเรื้อรังและยังไม่มียาที่ใช้รักษาให้หายขาดได้จริงๆ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และต้องปฏิบัติตนอย่างถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์


การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค กับร่างกาย

ภูมิคุ้มกันก่อเอง : จากการฉีดวัคซีน

    โรคบางชนิดเมื่อเคยเป็นครั้งหนึ่งและรักษาหายแล้ว ร่างกายจะมีภูมิต้านทานต่อโรคนั้นทำให้ไม่เป็นโรคนั้นอีกตลอดไป เช่น โรคอีสุกอีใส เป็นต้น ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่า เซลล์ที ในร่างกายจะจดจำเชื้อโรคอีสุกอีใสนี้ได้ จึงกระตุ่นให้เซลล์บีพัฒนาเป็นเซลล์พลาสมาเพื่อสร้างแอนติบอดีไปจัดการกับแอนติเจนเชื้อโรคอีสุกอีใสนั้น ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้เรียกว่า  ภูมิคุ้มกันก่อเอง และจากหลักการของระบบภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติของร่างกายนี้เอง ที่นำไปสู่แนวความคิด การฉีดวัคซีน เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน โดยใช้เชื้อโรคที่ตายแล้วหรืออ่อนฤทธิ์ลง ทำให้เป็นวัคซีนแล้วฉีดเข้าเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดภูมิต้านทานขึ้น

ภูมิคุ้มกันรับมา : จากการฉีดเซรุ่ม
    โรคบางชนิดที่ไม่ใช่โรคระบาด จึงไม่มีการฉีดวัคซีนป้องกันไว้ล่วงหน้า เช่น โรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น คนที่ถูกสุนัขบ้ากัด หรือถูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกัดจำเป็นจะต้องได้รับการฉีดแอนติบอดีต่อต้านแอนติเจนของเชื้อพิษสุนัขบ้านั้น เพื่อเป็นการป้องกันร่างกายทันที โดยที่ระบบภูมิคุ้มกันไม่ได้สร้างขึ้นมาเอง ซึ่งแอนติบอดีที่ฉีดเข้าสู่ร่างกายนี้อยู่ในส่วนของเลือดที่เรียกว่า เซรุม(serum)


วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การป้องกันและการกำจัดเชื้อโรคของร่างกาย

ด่านที่ 1: ผิวหนัง ผิวหนังมีแนวป้องกัน คือ สารเคมีที่เซลล์ผิวหนังสร้างขึ้นแล้วขับออกมาทางรูเปิดของขุมขนและรูเปิดของต่อมต่างๆ เช่น เหงื่อ น้ำมัน น้ำมูก น้ำตา เป็นต้น ซึ่งสารเหล่านี้มีเกลือปนอยู่ หรือมีสภาพเป็นกรดอ่อนๆ ถึงแม้ว่าสารเหล่านี้จะไม่มีฤทธิ์หรือไม่สามารถทำลายเชื้อโรคที่สัมผัสได้ แต่ก็สามารถช่วยซะล้างหรือกำจัดเชื้อโรคให้หลุดออกไปได้ ด่านที่ 2: แนวป้องกันโดยทั่วไป ถึงร่างกายจะมีกำแพงป้องกันที่แข็งแรงหนาแน่นเพียงใด แต่เชื้อโรคก็สามารถที่จะเล็ดลอดเข้าสู่ร่างกายและทำอันตรายต่อเซลล์ภายในได้ ทั้งนี้อาจเกิดขึ้นจากความรุนแรงของเชื้อโรคเอง หรือสภาวะร่างกายอ่อนแอ ตลอดจนการมีบาดแผลเกิดขึ้นกับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เชื้อโรคเหล่านี้ก็จะสามารถฝ่าแนวป้องกันด่านแรกเข้าไปภายในร่างกายและทำอันตรายต่อเซลล์ได้ เซลล์ที่ได้รับอันตรายจะได้ขับสารเคมีเพื่อส่งสัญญาณไปกระตุ้นกระบวนการตอบสนองที่ทำให้เกิดอาการอักเสบ(inflammation) ด่านที่3 : ระบบภูมิคุ้มกัน เมื้อเชื้อโรคสามารถผ่านด่านที่สองได้แล้ว จะมีการกระตุ้นหน่วยป้องกันพิเศษ ไม่ว่าสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาจะทำให้เกดอาการเป็นไข้หรือไม่ก็ตาม ก็จะมีการตอบสนองแบบจำเพาะนี้เสมอ ซึ่งเป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันเฉพาะโรคหนึ่งโรคใดที่เคยสัมผัสเท่านั้น เชื้อโรคบางชนิดจะมีโมเลกุลประจำเซลล์เรียกว่า แอนติเจน(antigen) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารพวกโปรตีน เมื่อเข้าสู่ร่างกายคน เซลล์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า ฟาโกไซต์ จะเข้าจับกินเชื้อโรคนั้น ทำให้แอนติเจนของเชื้อโรคปรากฏอยู่บนผิวของฟาโกไซต์และไปกระตุ้นเซลล์เดเลือดขาวกลุ่ม ลิมโฟไซต์(lymphocyte) ชนิดเซลล์ที (T cell) ให้จำแนกแอนติเจนนี้ แล้วส่งสัญญาณต่อไปยัง เซลล์บี(B cell) ทำให้เซลล์บีมีการแบ่งเซลล์ส่วนหนึ่งพัฒนาเป็น เซลล์เม็ดเลือดขาวอีกชนิด คือ เซลล์พลาสมา(plasma cell) ซึ่งจะทำหน้าที่สร้าง แอนติบอดี(antibody) ไปจับกับแอนติเจนบนผิวเซลล์ของเชื้อโรคทำให้เชื้อโรคนั้นหมดฤทธิ์และถูกเม็ดเลือดขาวจับกินทำลายได้ง่ายขึ้น

กลไกการรักษาดุลยภาพ

การควบคุมสภาวะกรด-ด่าง หลักๆในร่างกาย มีกลไกลทางสรีรวิทยาอยู่ 3 แบบคือ --ทางเคมี --ทางการหายใจ และทางไต 1. การควบคุมภาวะกรด – ด่างด้วยวิธีทางเคมี (chemical regulation of acid – base balane) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บัฟเฟอริง (buffering) ระบบบัฟเฟอร์ (บัฟเฟอร์คือสารละลายกรดอ่อนหรือด่างอ่อนซึ่งสามารถลดการเปลี่ยนแปลงของ pH ในภาวะที่ได้รับกรดหรือด่างได้ ทำให้ pH เปลี่ยนแปลงไม่มาก เหมือนกับที่พบในการเติมกรดหรือด่างลงไปในน้ำเปล่า) จะป้องกันการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรด – ด่างของร่างกายไม่ให้รวดเร็วเกินไปกรด – เบส บัฟเฟอร์ ประกอบด้วยกรดอ่อนและด่างอ่อน เป็นคู่ๆ ซึ่งจะ แตกตัว(Ionized) ได้เกลือของกรด หรือด่างอย่างเดียวกัน ทำให้กรดแก่ หรือ ด่างแก่เจือจางลง 2. การควบคุมภาวะสมดุลกรด - ด่างโดยการหายใจ (respiratory regulation) คาร์บอนไดออกไซด์ จะรวมกับน้ำได้เป็นกรดคาร์บอนิก ซึ่งเป็นกรดอ่อน ดังสมการ CO2 +H2O -----> H2CO3 แม้ว่า H2CO3 จะแตกตัวได้ง่ายและให้ไฮรโดรเจนไอออนจำนวนน้อยก็ตาม แต่ก็มีอยู่เป็นปริมาณมากในร่างกาย จึงทำให้เกิดภาวะกรดได้มากเช่นเดียวกัน ดังนั้น คาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้ออกมาจะถูกขับออกอย่างรวดเร็ว โดยการเพิ่มอัตราการหายใจ ดังนั้นกรดคาร์บอนิกซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดไฮโดรเจนไอออนในเลือด ก็จะถูกกำจัดออกไปได้อย่างรวดเร็ว ศูนย์ควบคุมการหายใจในเมดัลลา จะมีความไวมากต่อคาร์บอนไดออกไซด์และความเป็นกรดของเลือด ถ้ามีการเพิ่มขึ้นของ 3. การควบคุมโดยไต (excretion by kidney) แม้ว่าไตจะช่วยการปรับภาวะกรด - ด่าง ได้ไม่รวดเร็วเท่ากับบัฟเฟอร์ของเลือดและการหายใจก็ตาม แต่การปรับทางไตก็เป็นกลไกสำคัญในการรักษาภาวะสมดุลของกรด - ด่างของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพมากที่สุดย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างก็จะทำให้มีการหายใจเพิ่มขึ้นเพื่อจะทำให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติได้เร็วขึ้น ไตจะสามารถควบคุม กรด - ด่าง โดยระบบบัฟเฟอร์ โดยการขับแอมโมเนียซึ่งมีอยู่ 3 วิธี ในการที่จะช่วยรักษา pH ของน้ำภายนอกเซลล์ไว้ได้

วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2558

เซลล์

             เซลล์ (Cell) หมายถึง หน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต มีรูปร่างลักษณะและขนาดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งมีชีวิตและหน้าที่ของเซลล์เหล่านั้นเซลล์ที่มีขนาดเล็กที่สุดคือ ไมโครพลาสมา (Mycoplasma) อ่านเพิ่มเติม